WebQuest

อัลกุรอ่าน

Conclusion

20130416042150ydaza.jpg


     อัลกุรอ่าน เป็นนามคัมภีร์สูงสุดของศาสนาอิสลามที่ได้ประทานแก่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซอลลัลลอฮุอาลัย
ฮิวะซัลลัม) เป็นช่วงเป็นตอนตามสถานการณ์ จนครบถ้วนอย่างในปัจจุบัน เป็นเวลาทั้งสิ้น 22 ปี แบ่งออกเป็น 30 ส่วน (ญุจอฺ) 114 บท (ซูเราะฮ์) มีโองการ (อายะฮฺ) ทั้งสิ้น 6,000 กว่าโองการ
อัลกุรอ่านมีสำนวนภาษาที่สูงส่ง เป็นคำดำรัสของอัลเลาะฮ์ ซึ่งกวีชั้นสูงไม่อาจประพันธ์เทียบเคียงได้ แม้แต่ท่านนบีเองก็ไม่ได้เขียนขึ้นเอง เพราะท่านนบีมีลักษณะเฉพาะที่เขียนไม่เป็นและอ่านไม่ได้ตามที่

อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าอัลกุรอ่านเป็นคำดำรัสของอัลเลาะฮ์จริง

     ชื่อของอัลกุรอ่านมีนามเรียกกันอีกมากมาย เช่น กะลามุลลอฮฺ อัลบุชรอ อัลฟุรกอน อัลมะญีด และอัลวะหฺยุน เป็นต้น

การประทานอัลกุรอ่านเริ่มขึ้นในเดือนรอมฎอน ตามที่อัลกุรอ่านระบุไว้ว่า

  شَهْرُ رَمَضَانَ ٱلَّذِىٓ أُنزِلَ فِيهِ ٱلْقُرْءَانُ

      ความว่า �เดือนรอมฎอน เป็นเดือนแห่งการประทานอัลกุรอ่าน� และยังมีระบุกำหนดชัดอีกว่า �เป็นคืนอัลกอดรฺ� (2 : 185)

 إِنَّآ أَنزَلْنَٰهُ فِى لَيْلَةِ ٱلْقَدْرِ


     ความว่า �แท้จริงเรา (อัลเลาะฮ์) ได้ประทานอัลกุรอ่านในคืนอัลกอดรฺ� (97 : 1)

วิธีประทานอัลกุรอ่าน มี 2 แนวทาง คือ

  1. การดลใจ เรียกในภาษาอาหรับว่า �วะฮฺยุน เคาะฟีย์� หมายถึง การที่อัลเลาะฮ์ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดเข้าไปในจิตใจของผู้รับ
     
  2. การส่งผู้นำสารจากอัลเลาะฮ์ คือ มลาอิกะฮ์ชื่อว่าญิบรีล มายังท่านนบี เพื่อบอกโองการจาก อัลเลาะฮ์ เรียกว่า �วะฮฺยุน มัตลู� ดังเช่นที่ท่านนบีได้รับโองการครั้งแรกที่ถ้ำฮิรออฺ ที่ภูเขานูร ณ เมืองมักกะฮ์

     ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ เช่น กรณีในคืนอัลเมียะราจ ในเรื่องบัญญัติละหมาด ซึ่งเป็นการรับวะฮฺยู
จากอัลเลาะฮ์โดยตรง

การบันทึกอัลกุรอ่าน แบ่งได้เป็น 3 ยุค ดังนี้

  1. การบันทึกสมัยท่านรอซูล ซึ่งท่านรอซูลเป็นผู้สั่งการทั้งสิ้น ว่าจะให้ใครบันทึกและจะใช้วิธีอย่างไร เช่น ท่านรอซูลสั่งให้ อบูบะกัรฺ, อุษมาน, อะลี, มุอาวิยะฮฺ, อับบาส, คอลิด, อุบัยดฺ และซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต เป็นต้น โดยบันทึกที่กิ่งอินทผาลัมบ้าง หนังสัตว์บ้าง แผ่นหินบ้าง หรือแม้แต่กระทั่งกระดูกสัตว์ ดังนั้น แผ่นต่าง ๆ จึงมิได้เป็นหมวดหมู่ แล้วแต่ใครจะเก็บรักษาไว้ ไม่ได้รวบรวมเป็นเล่ม
     
  2. การบันทึกสมัยอบูบะกัรฺ ซึ่งเป็นคอลีฟะฮ์ท่านแรก ในยุคของท่านจำเป็นต้องปราบเสี้ยนหนามของอิสลามมากต่อมากครั้ง การทำศึกสงครามย่อมทำความเสียหายมากมาย ทั้งทรัพย์สิน ผู้คน ที่สำคัญก็คือ ผู้ที่ท่องจำอัลกุรอ่านก็ได้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ท่านอุมัรฺเองได้ปรึกษากับท่านอบูบะกัรฺว่า ควรจะได้รีบบันทึกอัลกุรอ่านไว้เป็นเล่ม ๆ ในช่วงแรกอบูบะกัรฺไม่เห็นด้วย แต่ในที่สุดก็ยอมจำนนด้วยเหตุผลของท่านอุมัรฺว่า สักวันหนึ่งจะไม่มีผู้จำอัลกุรอ่านเหลืออยู่ อัลกุรอ่านก็จะไม่คงอยู่ในสภาพเดิม ท่าน
    อบูบะกัรฺจึงสิ่งให้ ซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต เป็นผู้นำในการรวบรวม โดยรวบรวมจากบันทึกต่าง ๆ ที่ท่านรอซูลเคยสั่งให้ทำไว้ อัลกุรอ่านฉบับนี้เมื่อรวบรวมเสร็จได้เก็บไว้ที่ท่านอบูบะกัรฺ ต่อมาก็เก็บไว้ที่ท่านอุมัรฺ และที่สุดอยู่กับท่านหญิง ฮัฟเซาะฮฺ ต่อมาในยุคของอุษมาน ท่านได้เรียกมาแล้วคัดลอกใหม่
     
  3. การบันทึกสมัยอุษมาน ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 25 การผันผวนในสำนวนการอ่านทำให้ผิดแผกกันไปมาก ฮุซัยฟะฮ์รู้สึกตกใจว่า ต่อไปจะมีปัญหาจึงได้เรียนเรื่องนี้กับท่านอุษมานเพื่อให้รีบดำเนินการแก้ไข ท่านได้ส่งตัวแทนไปพบกับท่านหญิงฮัฟเซาะฮฺ เพื่อขอมาคัดลอกใหม่ ปรับให้เป็นการอ่านเหมือนกันหมด โดยอุษมานจัดตั้งคณะทำงานขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต ซึ่งเป็นชาวอันศอรฺ, อับดุลเลาะฮ์ อิบนุ ซูบัยรฺ, สะอีด อิบนุ อัลอาศ และอับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ อัลฮาริษ ซึ่งที่สุดก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี กุรอ่านเป็นสำนวนภาษาที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์อ่าน รวมทั้งเรียงบท วรรค ตอน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

The Public URL for this WebQuest:
http://zunal.com/webquest.php?w=193030
WebQuest Hits: 1,155
Save WebQuest as PDF

Ready to go?

Select "Logout" below if you are ready
to end your current session.